วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิของฉัน




                           วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่จัดตั้งขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการสังคม ในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มี คุณธรรม คุณภาพ และทัศนคติที่ดีต่อธรรมชาติและเพื่อนมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สังคมไทย และประเทศไทย  วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิมุ่งมั่นที่จะสร้างความเป็นเลิศทางความคิด (ปัญญาและความดี) ทางวิชาการ (ความรู้ สู่อาชีพ) และการดำรงชีวิต (การปฏิบัติสู่ความสุข) ควบคู่กันไปทั้งสามด้าน เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาแห่งนี้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ด้วยคุณภาพแห่งชีวิต

                   จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผู้บริหารและคณะอาจารย์ในกลุ่มโรงเรียนเทคโนโลยีกรุงเทพ  ซึ่งมีทั้งหมด 6 โรงเรียน ได้แก่
           1.  โรงเรียนเทคโนโลยีกรุงเทพ
           2.  โรงเรียนเทคนิคบริหารธุรกิจกรุงเทพ
           3.  โรงเรียนโปลีเทคนิคระยอง
           4.  โรงเรียนเทคโนโลยีบริหารธุรกิจกาญจนบุรี
           5.  โรงเรียนเทคโนโลยีบริหารธุรกิจสมุทรปราการ
           6.  โรงเรียนเทคนิคบริหารธุรกิจกรุงเทพ  ชลบุรี  

            ตระหนักถึงความสำคัญของการให้การศึกษาในระดับอุดมศึกษา และพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศชาติจึงจัดตั้ง วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ เปิดสอนในระดับอุดมศึกษาแห่งใหม่ขึ้นในเขตลาดกระบัง  กรุงเทพมหานคร

 
ปรัชญา  : บัณฑิตของวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิจะมีคุณสมบัติเด่น 3 ประการในการดำเนินชีวิต
คุณธรรม : ประพฤติตนอยู่ในกรอบของศีลธรรม มีวินัย มีความรับผิดชอบ อดทน
ซื่อสัตย์ กตัญญู และมีทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนมนุษย์
ปัญญา : มีความรู้จริง ปฏิบัติได้ ชอบแสวงหาความรู้ตลอดชีวิต พัฒนาตนให้ทันต่อสภาพการณ์ ประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพอย่างต่อเนื่อง
 ความสุข : ประยุกต์ใช้ความรู้ เพื่อดำเนินชีวิต ได้อย่างมีความสุข บนพื้นฐานของผู้
มีคุณธรรม มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และสังคมประเทศชาติ
 ปณิธาน  :พัฒนาความรู้ คู่คุณธรรม มีความสุข รักความเป็นไทย

ความภาคภูมิใจในวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ
                การที่ดิฉันได้ก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวิทยาลัยแห่งนี้มีหลายสิ่งที่ประทับใจและภาคภูมิใจ  วันแรกที่ประทับใจ  คือ  การได้รู้จักเพื่อนใหม่ๆ ต่างเพศ ต่างวัย หน้าที่การงานแตกต่างกันไป  แต่ที่ตกใจ อื้อหือ....มีพระสงฆ์ตั้ง 3 รูปแน่ะ  เมื่อมาเรียนร่วมกันก็ทำให้เรียนรู้นิสัย ใจคอ ของแต่ละบุคคล แต่ละคนมีบุคลิก ลักษณะ  นิสัยใจคอ ที่น่ารักแตกต่างกันออกไป  แต่ไม่ว่าจะยังไงเราก็ยังเป็นเพื่อนกัน  ความภาคภูมิใจที่ได้มาเรียนที่วิทยาลัยแห่งนี้  คือ  การได้รับความรู้จากอาจารย์ผู้สอน  ซึ่งคณาจารย์ผู้สอนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีตำแหน่งวิชาการ ศ. รศ. ,ผศ. ,ดร. ทุกท่าน  มีความเชี่ยวชาญในวิชาการนั้นมาก  ทำให้ได้รับความรู้และนำไปปรับใช้ในการสอนได้จริง  ดิฉันจะขอเก็บความทรงจำที่ดีๆเกี่ยวกับวิทยาลัยแห่งนี้ไว้ในใจตลอดไป                
              สุดท้ายขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ผู้สอนทุกท่าน  ที่ถ่ายทอดวิชาความรู้  ขอขอบพระคุณคณะอาจารย์ผู้ดูแลหลักสูตรทุกท่าน  และอยากบอกเพื่อนๆทุกคนว่า  เพื่อนๆทุกคนน่ารัก ดีใจที่ได้มารู้จัก   และเราจะเป็นเพื่อนกันตลอดไป  ขอให้ทุกคนเป็นคุณครูที่ดีค่ะ

วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเย


แบบการเรียนรู้ของกาเย
          กาเย (Gagne) ได้เสนอหลักที่สำคัญเกี่ยวกับการเรียนรู้ว่า ไม่มีทฤษฎีหนึ่งหรือทฤษฎีใดสามารถอธิบายการเรียนรู้ของบุคคลได้สมบูรณ์ ดังนั้น กาเย จึงได้นำทฤษฎีการเรียนรู้แบบสิ่งเร้าและการตอบสนอง (S-R Theory) กับทฤษฎีความรู้ (Cognitive Field Theory) มาผสมผสานกันในลักษณะของการจัดลำดับการเรียนรู้ดังนี้
          1. การเรียนรู้แบบสัญญาณ (Signal Learning) เป็นการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไข เกิดจากความไกล้ชิดของสิ่งเร้าและการกระทำซ้ำผู้เรียนไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเอง
         2. การเรียนรู้แบบการตอบสนอง (S-R Learning) คือการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถควบคุมพฤติกรรมนั้นได้การตอบสนองเป็นผลจากการเสริมแรงกับโอกาสการกระทำซ้ำ หรือฝึกฝน
          3. การเรียนรู้แบบลูกโซ่ (Chaining Learning) คือการเรียนรู้อันเนื่องมาจากการเชื่อมโยงสิ่งเร้ากับการตอบสนองติดต่อกันเป็นกิจกรรมต่อเนื่องโดยเป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว เช่นการขับรถ การใช้เครื่องมือ
         4. การเรียนรู้แบบภาษาสัมพันธ์ (Verbol Association Learning) มีลักษณะเช่นเดียวกับการเรียนรู้แบบลูกโซ่ หากแต่ใช้ภาษา หรือสัญญลักษณ์แทน
         5. การเรียนรู้แบบการจำแนก (Discrimination Learning) ได้แก่การเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถมองเห็นความแตกต่าง สามารถเลือกตอบสนองได้
         6. การเรียนรู้มโนทัศน์ (Concept Learning) ได้แก่การเรียนรู้อันเนื่องมาจากความสามารถในการตอบสนองสิ่งต่าง ๆ ในลักษณะที่เป็นส่วนรวมของสิ่งนั้น เช่นวงกลมประกอบด้วยมโนทัศน์ย่อยที่เกี่ยวกับ ส่วนโค้ง ระยะทาง ศูนย์กลาง เป็นต้น
         7. การเรียนรู้กฏ (Principle Learning) เกิดจากความสามารถเชื่อมโยงมโนทัศน์ เข้าด้วยกันสามารถนำไปตั้งเป็นกฎเกณฑ์ได้
         8. การเรียนรู้แบบปัญหา (Problem Solving) ได้แก่ การเรียนรู้ในระดับที่ ผู้เรียนสามารถรวมกฎเกณฑ์ รู้จักการแสวงหาความรู้ รู้จักสร้างสรรค์ นำความรู้ไปแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้จากลำดับการเรียนรู้นี้แสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมการเรียนรู้แบบต้นๆ จะเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ระดับสูง

 
การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้
           ทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นหลักในการจัดการเรียนการสอน ได้ ในลักษณะต่างๆ เช่น การจัดสภาพที่เหมาะสมสำหรับการเรียนการสอน การจูงใจ การรับรู้ การเสริมแรง การถ่ายโยงการเรียนรู้ ฯลฯ
           การจัดสภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้  การจัดการเรียนการสอน ที่สอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ เพื่อเกิดประสิทธิภาพสูงสุดนั้นจะต้องคำนึงถึงหลักการที่สำคัญอยู่ 4 ประการคือ
           1. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนอย่างกระฉับกระเฉง เช่นการให้เรียนด้วยการลงมือปฏิบัติ ประกอบกิจกรรม และเสาะแสวงหาความรู้เอง ไม่เพียงแต่จะทำให้ผู้เรียนมีความสนใจสูงขึ้นเท่านั้น แต่ ยังทำให้ผู้เรียนต้องตั้งใจสังเกตและติดตามด้วยการสังเกต คิด และใคร่ครวญตาม ซึ่งจะมีผลต่อการเพิ่มพูนความรู้
            2. ให้ทราบผลย้อมกลับทันที เมื่อให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติหรือตัดสินใจทำอะไรลงไป ก็จะมีผลสะท้อนกลับให้ทราบว่านักเรียนตัดสินใจถูกหรือผิด โดยทันท่วงที
            3. ให้ได้ประสบการณ์แห่งความสำเร็จ โดยใช้การเสริมแรง เมื่อผู้เรียนแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์หรือถูกต้อง ก็จะมีรางวัลให้ เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจ และแสดงพฤติกรรมนั้นอีก
           4. การให้เรียนไปทีละน้อยตามลำดับขั้น ต้องให้ผู้เรียนต้องเรียนทีละน้อยตามลำดับขั้นที่พอเหมาะกับความสนใจและความสามารถของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นสำคัญ จะทำให้ประสบความสำเร็จในการเรียน และเกิดการเรียนรู้ที่มั่นคงถาวรขึ้น


                                                                                                     Go to  http://www.google.co.th/

วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การเรียน GDT 407 ครั้งที่ 1


สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียน GDT 407 วันนี้

                 








1.  ความหมายและองค์ประกอบของเทคโนโลยี
                  เทคโนโลยี คือ การนำเอาวิธีการ แนวคิดใหม่ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้อย่างมีระบบในการพัฒนาและปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
                  เทคโนโลยีประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ ข้อมูล กระบวนการ และผลลัพท์

2.  ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา  และขั้นตอนของการเกิดนวัตกรรม
              นวัตกรรมการศึกษา คือ การนำสิ่งใหม่ๆ  ซึ่งอาจจะเป็นความคิด วิธีการ  หรือการกระทำหรือสิ่งประดิษฐิ์ขึ้น ทั้งในส่วนที่ไม่เคยมีมาก่อน  หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากสิ่งแต่เดิมที่มีอยู่ให้ดีขึ้น
              ขั้นตอนการเกิดนวัตกรรม แบ่งเป็น 3 ระยะ
                       ระยะที่ 1 มีการประดิษฐิ์คิดค้น
                       ระยะที่ 2 พัฒนาการ
                       ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติ

3.  ความหมายของเทคโนโลยี  และองค์ประกอบสำคัญของการเป็นเทคโนโลยีการศึกษา
               เทคโนโลยีการศึกษาเป็นศาสตร์ว่าด้วยวิธีการ  โดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอน
               การเป็นเทคโนโลยีการศึกษาต้องครอบคลุม 3 องค์ประกอบ คือ วิธีสอน อุปกรณ์การสอน และการจัดระบบการเรียนการสอน

                  

4.  ขั้นตอนการลงทะเบียน Gmail
5. การสร้างบล็อกโดยใช้ Gmail